ข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ

โรคข้อเข่าเสื่อมคือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอสึกกร่อน หรือมีผิวข้อสึกกร่อน และเสื่อมอย่างช้าๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ถ้าเกิดอาการเรื้อรัง กระดูกจะมีการซ่อมแซมตัวเองจนเกิดเป็นกระดูกงอกขรุขระขึ้นภายในข้อ ก็จะทำให้การเคลื่อนไหวติดขัด และมีเสียงดัง เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนักจึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเมื่อพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ในผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้วจะมีแนวแกนขาผิดปกติ ขาอาจโก่งเข้าด้านในหรือบิดออกนอก และทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได้ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด เข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โรคข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากการเสื่อมตามอายุขัยส่วนใหญ่เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อกระดูกสันหลัง ปัญหาปวดเข่าพบได้มากในผู้สูงอายุหญิงมากกว่าชาย การอยู่ในอิรอยาบถที่เข่าถูกกดพับ นั่งคุกเข่าพับเพียบ ขัดสมาธิ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่าถูกกดพับ และเอ็นกล้ามเนื้อถูกยึดมาก ทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงเข่าไม่ได้ดี และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อีกทั้งต้องทำงานหนักไม่มีการพัก ประกอบกับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้น กล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลง จึงทำให้เป็นโรคเข่าเสื่อมได้ง่าย โดยทั่วไปหากเกิดจากการเสื่อมของข้อมักจะเริ่มจากข้อเข่าด้านในก่อน เมื่อมีการสึกเพิ่มขึ้นจึงเสื่อมทั้ง 3 ข้อย่อยคือ ผิวข้อด้านใน ผิวข้อด้านนอก และผิวข้อด้านหลังกระดูกสะบ้า ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอาจมีภาวะเสื่อมของข้อหลาย ๆ แห่งพร้อมกันโดยเฉพาะในข้อที่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง กระดูกคอ ข้อนิ้วมือ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดข้อเข่าเสื่อม

  • พันธุกรรมและความผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป
  • อายุและเพศ โดยเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนก็ลดลง นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น (BMI มากกว่า 23 กก./ม.2)
  • เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมได้สูง โดยอาจเป็นผลจากการบาดเจ็บ โดยถึงแม้ร่างกายจะมีการซ่อมแซมตัวเองหลังการบาดเจ็บ โครงสร้างข้อเข่าก็อาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม
  • ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง รักษาผิดวิธี
  • การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ หรือท่าทางบางอย่างที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง
  • โรคบางชนิด เช่นไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาท์ ส่งผลให้กระดูกอ่อนถูกทำลายจนกระทั่งหมดไป ทำให้เกิดอาการปวดและข้อติดแข็งตามมา

ทำไมข้อเข่าของคนเรา ถึงเกิดอาการเสื่อม

ไม่ใช่แต่ผู้สูงวัยอย่างเดียวเท่านั้นที่มีปัญหานี้ จากงานวิจัย เข่าเราเริ่มเสื่อมตั้งแต่ 22 ปี แต่จะแสดงอาการหนักสุดตอน 50 ปีขึ้น

อาการของข้อเข่าเสื่อม อักเสบตามข้อต่อ

เริ่มมีเสียง ก๊อกแก๊ก ๆ หรือเริ่มรู้สึกว่าฝืดๆ ที่ข้อเข่า เหยียดข้อเข่าได้ไม่เต็มที่

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบในผู้ป่วยสูงอายุ ผิวของข้อเข่ามีกระดูกอ่อนปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่เสมือนโช้คอัพรองรับและกระจายน้ำหนัก ภายในข้อเขามีน้ำไขข้อหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบข่าเพื่อป้องกันการสึกกร่อนของข้อเข่า เมื่ออายุมากขึ้นหรือรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีการบาดเจ็บกระดูกอ่อนตรงผิวข้อเข่าจะค่อย ๆ สึกกร่อน ส่งผลให้มีกระดูกงอก(หินปูน) ขรุขระและมีการสูญเสียน้ำในข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเกิดเสียงดังและมีอาการปวดขัดเมื่อมีการเคลื่อนไหว เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นจะโก่งงอ พร้อมทั้งอาจทำให้ข้อเข่ามีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยหรือบางคนจะเดินน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อที่ขาลีบลง ข้อจะยึดติดเหมือนมีสนิมเกาะ เหยียดขาได้ไม่สุด ซึ่งทำให้เกิดอาการตามมาดังนี้

  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวจะรู้สึกมีเสียงก้อกแก้กในข้อและปวดเข่า
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ เข่าฝืดหรือยึดติด อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม อักเสบ หรือแสบร้อน เจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆ พอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า การบวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง

หากท่านเริ่มมีปัญหาของข้อเข่า ควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง และพิจารณาดูว่า มีอะไรเป็นสาเหตุดังกล่าว จะเป็นต้องเริ่มต้นฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อของข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น อย่าได้ประมาท

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม กลุ่มปัญหาหรือกลุ่มเสี่ยง

  • คนสูงอายุ มีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว ดัชนีมวลกาย BMI มากกว่า 23
  • การใช้ข้อเข่ามาก ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง
  • เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
  • โรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

การรักษาโรคเข่าเสื่อมมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ระยะของโรค โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวดข้อเข่า ฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ซึ่งวิธีการรักษาหลากหลาย เช่นการรักษาโดยไม่ใช้ยา แพทย์จะให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้ผู้ป่วยพยายามลดปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เข่าเสื่อมลุกลาม เน้นการออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เช่น การใช้ไม้เท้า การเสริมรองเท้าเป็นลิ่มด้านนอก การใช้สนับเข่า เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงของข้อเข่า รวมทั้งช่วยลดอาการปวดข้อเข่า การลดน้ำหนัก หรือใช้วิธีการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้เลเซอร์ การฝังเข็ม การใช้ความร้อน การใช้สนามแม่เหล็ก ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาการรักษาร่วมกับผู้ป่วย และเลือกทางที่ดีที่สุด การรักษาโดยยา แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ยารับประทานตามอาการของโรค รวมถึงการใช้ยาทาเฉพาะ ประเภทที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละราย

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งเป็น

1. การรักษาด้วยการใช้ยาหลายกลุ่ม ได้แก่

  • ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ในการควบคุมอาการ
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ
  • ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต จะช่วยชะลอโรค ซ่อมแซมผิวข้อ ลดการอักเสบและอาการปวด เป็นยาทางเลือกสำหรับข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น
  • ยาทาภายนอก ช่วยลดอาการโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากยารับประทาน

2. การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด โดยทั่วไป

  • การฉีดยาหล่อเลี้ยงข้อเข่าในกรณีที่มีอาการปวดไม่มาก และการทำลายของกระดูกอ่อนยังไม่รุนแรง ช่วยล้างน้ำไขข้อที่อักเสบ เศษกระดูก กระดูกอ่อนและเยื่อบุข้อที่หลุดร่อนออก แต่งผิวข้อให้เรียบและกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อใหม่ เป็นทางเลือกในการช่วยลดอาการปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น
  • การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ เป็นทางเลือกในกรณีข้อเสื่อมรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น

อาการปวดเริ่มแรกสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล, การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบจะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่มีอาการปวดอยู่ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินมาก ถ้าเดินควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดินและใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอ ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์

ข้อจำกัดของยาแผนปัจจุบัน
ในการรักษาข้อเข่าเสือมด้วยกลุ่มยา NSAIDs เป็นแนวทางการรักษาของการแพทย์แผนปัจจุบัน อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการไว้ชั่วคราว แต่มิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค และผลของการซ่อมแซมโครงสร้างข้อเข่าไม่เด่นชัด ที่สำคัญคือพิษของยา จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะของผู้สูงอายุซึ่งมีระบบทางเดินอาหารที่ต้านทานต่อพิษของยาน้อยลงจึงทำให้อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผลที่กระเพาะอาหารได้ง่ายกว่า พร้อมทั้งอาจส่งผลต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น เป็นพิษต่อตับทำให้เซลล์ตับตาย ตับเสื่อมสภาพ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน เป็นต้น

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

  • การผ่าตัดจัดแนวกระดูกขา ใช้ในกรณีที่เป็นข้อเสื่อมซีกเดียวร่วมกับมีขาโก่งผิดรูปเล็กน้อย เป็นการผ่าตัดปรับแนวของข้อและขาใหม่ ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มอายุการใช้งานของข้อ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อที่สึกออกไปและทดแทนด้วยผิวข้อเทียม เหมาะกับผู้ป่วยที่มีการสึกของผิวข้ออย่างรุนแรง มีข้อผิดรูปหรือมีข้อยึดติดมาก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว (Unicompartmental Knee Replacement: UKR)
การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะด้านใน ชนิด OXFORD
การผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (MAKOplasty)
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Replacement: TKR)
การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
การผ่าตัดด้วยการใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี
การผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (MAKOplasty) – กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณา วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

4. การรักษาด้วยการธรรมชาติ และวิธีป้องกัน

  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ได้แก่ รับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายชนิดส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดิน เพื่อส่งเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น
  • ลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพื่อลดแรงกดบนข้อเข่า
  • การฝึกกล้ามเนื้อต้นขาและกายภาพบำบัด
  • รับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเสริมแคลเซียม เสริมสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเป็นประจำเพื่อป้องกันการเสื่อมของข้อต่างๆ

เซซามินช่วยเรื่อง ข้อเข่าเสื่อม ได้อย่างไร

หนึ่งในวิธีธรรมชาติที่สามารถช่วยได้ สารเซซามิน สามารถช่วยยับยั้งหรือชะลอการเกิดการอักเสบได้ จึงช่วยบรรทาอาการปวดของผู้มีปัญหาข้อเสื่อมได้