โรคภูมิแพ้ (Allergy) ภูมิแพ้ ไอจาม ผื่นคัน

โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายของเราที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองต่างๆ อาทิเช่น ไรฝุ่น,รังแคของสุนัขและแมว,แมลงสาบ

สารที่ร่างกายรับเข้ามาและกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะต่าง ๆ เรียกว่า “สารก่อภูมิแพ้” โดยร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ด้วยการแสดงอาการแพ้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสารภูมิต้านทานซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในเลือด มีหน้าที่คอยป้องกัน รวมทั้งขจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้บางชนิดที่ผู้ป่วยแพ้

สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยจากภูมิแพ้จมูกหรือภูมิแพ้อากาศ มักมาจากไรฝุ่น เชื้อรา หญ้า ละอองเกสร ขนสัตว์ ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ

สารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังมีหลายชนิด เช่น สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ถุงมือยาง ยาย้อมสีผม โลหะ เงิน เป็นต้น

ภูมิแพ้ตา มักเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ประเภทไรฝุ่น ควัน สารเคมี ละอองเกสร ขนหรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศและกระแสลม เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อบุดวงตา ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและมีอาการแพ้ที่แสดงออกทางดวงตาในหลายรูปแบบ

  • ถ้าโรคภูมิแพ้ เกิดที่จมูก เรียกว่า โรคแพ้อากาศ (โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้)
  • ถ้าโรคภูมิแพ้ เกิดที่ตา เรียกว่า โรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้
  • ถ้าโรคภูมิแพ้ เกิดที่หลอดลม เรียกว่า โรคหืด
  • ถ้าโรคภูมิแพ้ เกิดที่ผิวหนัง เรียกว่า ลมพิษ หรือ ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้
  • ถ้าโรคภูมิแพ้ เกิดที่ทางเดินอาหาร เรียกว่า โรคแพ้อาหาร

หลังจากที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีอาการแพ้ต่อสารแตกต่างกันไป เพราะโดยทั่วไปแล้ว สารส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยแพ้ เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกิริยาหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายคนส่วนใหญ่ แต่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่อผู้ที่แพ้เท่านั้น โรคชนิดนี้มักไม่ค่อยรุนแรงถึงชีวิต แต่จะส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือทำงาน ภูมิแพ้เป็นโรคที่พบมากในประชากรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี โรคนี้เป็นโรคยอดนิยมที่พบในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ฝุ่น ควัน สารพิษ ขยะ น้ำเน่าเสีย สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการป่วยด้วยโรคภูมิแพ้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

ทำไมเราถึงเป็นภูมิแพ้ เกิดจากสาเหตุใด

ในการเกิดภูมิแพ้ ร่างกายจะหลั่งสาร ฮิสตามีนออกมา แต่หารออกมาเยอะเกิน จะทำให้ภูมิแพ้เรากำเริบ

โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ

  • กรรมพันธุ์ กรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้คือสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย เพราะภูมิแพ้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ถ้าพ่อ หรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 30% แต่ถ้าหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกที่เกิดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 60-70 %
  • สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายของเรา เกิดจากภาวะแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่นการหายใจ การรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งการสัมผัสสารที่ร่างกายได้รับ หรือสัมผัสแล้วทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ขาว อาหารทะเลนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ อากาศเปลี่ยน การสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่

ปัจจัยของโรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ ส่วนมากเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ โดยในคนไทยส่วนใหญ่มักเกิดจากการแพ้ไรฝุ่น รองลงมาคือ แมลงสาบ ขนและรังแคสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เกสรพืช หรือเชื้อราในอากาศ

สำหรับในเด็กเล็กๆ การแพ้อาหารเช่น นมวัว ไข่ อาจแสดงอาการออกมาทางระบบหายใจได้ เช่น หายใจครืดคราด เป็นต้น

ผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) หรือ ผื่นแพ้จากการสัมผัส สาเหตุใหญ่ของลมพิษมักเกิดจากอาหารและยา ส่วนผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักเกิดขึ้นในเด็กที่มีพันธุกรรมของโรคภูมิแพ้ในครอบครัว อาจเกิดจากการแพ้อาหาร เช่น นมวัว ไข่ ซึ่งทำให้เกิดผื่น โดยมักเกิดบริเวณแก้มในเด็กเล็กหรือข้อพับในเด็กโต

ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร

อื่นๆ (ที่มักมีอาการรุนแรง) ผู้ป่วยบางรายมีอาการแพ้มาก อาจมีอาการเกิดขึ้นในทุกระบบ เช่น หอบ ลมพิษ ช็อค หรืออาจรุนแรงจนเสียชีวิตภายหลังจาการกินอาหารบางชนิด เช่น กุ้ง ถั่วลิสง ฯลฯ หรือภายหลังได้รับยา เช่น เพนนิซิลลิน

อาการเบื้องต้น ของโรคภูมิแพ้

ระบบการหายใจ ตั้งแต่จาม คันจมูก น้ำมูกไหล คัดจมูก คันตา คันคอ หรือไอเรื้อรังมีเสมหะ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเสียงดังวี้ดๆ อาการดังกล่าวอาจเป็นๆ หายๆ อาจมีอาการเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นตลอดเกือบทั้งปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุ

  • ระบบผิวหนัง อาจแสดงเป็นลมพิษ ผื่นคันตามข้อพับ ในเด็กอาจมีผื่นแดงบริเวณแก้ม
  • ระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด

สภาพร่างกายที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละคนมีโอกาสเกิดอาการแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยอาการที่เกิดจากภูมิแพ้อาหาร แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

  • IgE Mediated Reaction เกิดอาการแพ้เฉียบพลันทันทีที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย
  • Non IgE Mediated Reaction ค่อย ๆ เกิดอาการภายหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น

ส่วนอาการแพ้ต่อสารที่พบมากในปัจจุบัน ได้แก่ ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย ซึ่งแต่ละโรคเกิดจากสาเหตุและแสดงอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้

มีผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด โรคหอบ หืด

เคืองตาและตาแดง คัดจมูก บวมรอบปาก อาเจียน และถ่ายเหลว แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ

จะมีอาการแสดงมากขึ้นในบุคคลที่มีพันธุกรรมต่อการเกิดภูมิแพ้ เช่น มีพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคภูมิแพ้ ทำให้แสดงอาการแพ้ออกมาทางระบบอวัยวะต่างๆ บางท่านของอาจมีอาการรุนแรง เช่น ไอ แน่นหน้าอก มีอาการหอบ ซึ่งเป็นอาการของโรคหืด มีแสดงอาการทุกระบบ ในคนไข้ที่แพ้รุนแรง อาจมีทั้งอาการหอบ หายใจลำบาก ลมพิษขึ้น ช็อคหรืออาจเสียชีวิต

อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ที่มีความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคอื่นเพิ่มมากขึ้น เช่น

  • ไซนัสอักเสบ
    ไซนัสอักเสบเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบมากในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศ โดยจะมีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก รอบตา หัวคิ้ว ข้างจมูก คัดจมูก มีน้ำมูกและเสมหะสีเขียวข้น ไอ มีไข้ หายใจลำบาก
  • โรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรง (Anaphylaxis)
    ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงขึ้น เช่น มีผื่นขึ้นเต็มตัวและมีอาการคันตลอดเวลา เป็นลมพิษ หน้าซีดหรือหน้าแดง คอบวม แน่นหน้าอก หายใจติดขัด อาเจียน ท้องร่วง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่แพ้อาหาร แพ้แมลง และแพ้ยา
  • โรคหอบหืด
    ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่าคนทั่วไป โดยมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจเสียงดัง ไอ แน่นหน้าอกหรือเจ็บที่หน้าอก มีปัญหาในการนอนเนื่องจากการหายใจที่ผิดปกติ ทำให้นอนยากหรือนอนแล้วรู้สึกตัวขึ้นกลางดึก หอบหืดเกิดจากมีสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในปอด ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ หลอดลมอักเสบ พบมากในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศซึ่งเป็นการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาจมีอาการป่วยและโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นอีก เช่น ผิวหนังอักเสบ กลาก การติดเชื้อในหูชั้นกลาง การติดเชื้อในปอด เป็นต้น

ประเภทของภูมิแพ้

  • ภูมิแพ้อาหาร อาการสำคัญของผู้ที่แพ้อาหาร มักจะเกิดขึ้นกับระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร เช่น ไอ จาม น้ำตาไหล คัดจมูก มีอาการบวมแดงหรือคันบริเวณปาก ลิ้น ลำคอ หน้าซีด ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกอ่อนล้า หมดแรง หายใจลำบาก ความดันลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นลมพิษ มีผื่นแดงคันขึ้นทั่วตัว ปวดท้อง ท้องเสีย ขับถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนแม้จะมีอาการแสดงบางอย่างที่ใกล้เคียงกับโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) แต่การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ร่างกายแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหารชนิดนั้นเท่านั้น คนทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการดังกล่าว ในขณะที่โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากอาหารที่เจือปนเชื้อโรคหรือสารพิษ และทำปฏิกิริยาต่อร่างกายคนทั่วไปด้วย ทั้งนี้ การวินิจฉัยจะเป็นไปตามขั้นตอน เช่น การตรวจสอบประวัติการแพ้ของผู้ป่วย และตรวจสอบว่าผู้ที่รับประทานอาหารชนิดเดียวกันเกิดอาการเดียวกันหรือไม่
  • ภูมิแพ้อากาศหรือภูมิแพ้จมูก ภูมิแพ้ชนิดนี้จะมีอาการที่เกิดกับจมูก บริเวณโพรงจมูก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก หลังผู้ป่วยหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะขับสารเพื่อทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ จามบ่อย คันและมีการอักเสบบวมทั่วใบหน้า รอบดวงตา จมูก ปาก และลำคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ หายใจไม่ออก หอบหืด ไอ เจ็บคอ หูอื้อ ตาแดง ประสาทรับกลิ่นทำงานได้แย่ลง และอาจมีไข้ร่วมด้วย
  • ภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังบริเวณที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้ โดยจะเกิดการคัน มีผื่นแดง มีรอยนูนแดง หรือตุ่มบวมอักเสบ เป็นแผลหรือผิวลอกออกได้ง่ายเมื่อเกา อาจลุกลามอักเสบเป็นวงกว้าง
  • ภูมิแพ้ตา อาการแพ้นี้จะแสดงออกทางดวงตา เช่น คันหรือระคายเคืองบริเวณดวงตา แสบตา ตาแดง ตาบวม เปลือกตาอักเสบบวม มีน้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีก้อนหรือสะเก็ดเม็ดทรายติดอยู่ในดวงตา ตามีความอ่อนแอ ไวต่อแสง แสงจ้าหรือแม้แต่แสงสว่างปกติก็อาจสร้างความลำบากในการมองเห็น สร้างความรำคาญใจและรบกวนทัศนวิสัยในการมองเห็น

แม้ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายกับอาการของผู้ป่วยโรคตาแดง แต่โรคภูมิแพ้ตาไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่จะทำปฏิกิริยาต่อผู้ที่แพ้เท่านั้น

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้

  • มีประวัติโรคภูมิแในครอบครัว หากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเกิดโรค 25-50%
  • มีอาการบ่อยๆ ซ้ำๆ อาจเกิดขึ้นทั้งปี หรือเป็นเฉพาะฤดูกาล
  • เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีชนาดตัวเล็กกว่าเด็กทั่วไป อาการอื่น ๆ เช่น ดัดจมูกตลอดเวลา ผิวแห้งและหยาบ คันตา กระพริบตาบ่อย มีน้ำมูกใส มีอาการไอเรื้อรัง เป็นต้น

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้

ให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุอย่างน้อย 4-6 เดือน

ให้นมสูตรพิเศษ กรณีที่นมแม่ไม่พอหรือจำเป็นต้องให้นมอื่นเสริม อาจมีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบในทารกกลุ่มเสี่ยง

อาหารเสริมตามวัยสามารถให้ได้เมื่อทารกอายุ 4-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับความพร้อมของทารก โดยเริ่มจากอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้น้อยก่อน เช่น ข้าว ผักใบเขียว ไก่ หมู เป็นต้น

หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ในบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องนอนทารกควรเป็นห้องโปร่ง สะอาด มีของเท่าที่จำเป็น ที่นอน หมอน ควรใช้ชนิดใยสังเคราะห์ หลีกเลี่ยงนุ่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนควรซักบ่อยๆ ถ้าเป็นไปได้ควรซักในน้ำร้อน ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขน พรม หรือหนังสือในห้องนอน เช็ด ถู ทำความสะอาดห้องเป็นประจำ ควรเปิดให้อากาศถ่ายเทและแสงแดดเข้าได้ ไม่ควรมีผู้สูบบุหรี่ในบ้าน ให้หลีกเลี่ยงควัน สิ่งระคายทางระบบหายใจให้มากที่สุด นอกจากนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อระบบการหายใจ เพราะเชื้อไวรัสบางอย่างอาจมีผลทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น

ดูแลร่างกายให้สดชื่น แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และควรออกกำลังกายเป็นประจำ
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเมื่อมีน้ำมูกเรื้อรัง

ปฏิบัติตามคำแนะนำและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง พบแพทย์เมื่อมีอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษา เช่น มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ หอบ เป็นต้น

การวินิฉัย การรักษาโรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการภูมิแพ้

แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด การตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการในบางราย หรือในรายที่ต้องการทราบสาเหตุว่าแพ้อะไรอาจใช้การทดสอบผิวหนัง

ขั้นตอนการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
การทดสอบผิวหนัง หรือ skin prick test เพื่อตรวจหาว่าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดบ้าง โดยมีวิธีทดสอบ ดังนี้

  • แพทย์หยดน้ำยาซึ่งเป็นสารสกัดลงบนท้องแขนหรือบริเวณหลัง
  • ใช้เข็มสะกิดเบาๆ (วิธีนี้มักทำได้ในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปที่ให้ความร่วมมือ)
  • หลังจากสะกิด แพทย์จะอ่านผลใน 15-20 นาที และจะรู้ว่าแพ้สารอะไร

* คนไข้ต้องงดรับประทานยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ก่อนการทดสอบ 1 สัปดาห์
* หากมีการใช้ยาสเตียรอยด์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการทดสอบ

หลีกเลี่ยงจากสารที่แพ้ (ถ้าเราทราบว่าแพ้สารอะไร) หากป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเผชิญกับสิ่งที่มีสารที่ตนแพ้ เช่น ผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทะเลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารแปรรูป อาหารสด หรือหากทราบว่าแพ้สารอะไร ก็พยายามหลีกเลี่ยงสารนั้นให้มากที่สุด

เมื่อสารก่อภูมิแพ้ไม่เข้าร่างกายก็จะไม่มีอาการ สารก่อภูมิแพ้บางอย่างหลีกเลี่ยงง่ายเช่น หลีกเลี่ยงจากสัตว์เลี้ยง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคลดลงได้ สารบางอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น เกสรหญ้า เกสรต้นไม้ เชื้อราในอากาศ ที่มีอยู่ในบรรยากาศที่เราหายใจ มีมากน้อยแล้วแต่สถานที่และฤดูกาล

สารบางอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากแต่ทำให้น้อยลงได้ เช่น ไรฝุ่นตามที่นอน หมอน พรม ก็หมั่นทำความสะอาด ดูดฝุ่นสม่ำเสมอ ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนควรทำความสะอาดบ่อยๆ ถ้าซักด้วยเครื่องควรปรับุณหภูมิให้ร้อนประมาณ 60 องศาเซลเซียส และซักทุกสัปดาห์ จะช่วยลดจำนวนไรฝุ่นได้ หรืออาจใช้ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนกันไรฝุ่น ก็จะช่วยลดไรฝุ่นในที่นอน ที่ก่อให้เกิดอาการได้พอสมควร อาหารแห้ง

ผู้ที่แพ้ฝุ่นควรหลีกเลี่ยงการเดินทางบนท้องถนนที่มีฝุ่นควัน ไม่ลดกระจกลงขณะโดยสารอยู่บนรถ หลีกเลี่ยงการเดินผ่านเขตบริเวณที่มีการก่อสร้าง และดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและห้องนอน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดเข้าถึง เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่นและไรฝุ่นที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้จากการสัมผัส เช่น ผื่นคันบริเวณที่ถูกเครื่องประดับ เครื่องสำอาง ก็งดการใช้ผื่นก็จะไม่เกิด

หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา หรือเพื่อบรรเทาและควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น
การใช้ยารักษา แพทย์จะวินิจฉัยและจ่ายยาให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาและควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น

ด้านการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะได้รับยาประเภท

  • ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ป้องกันไม่ให้สารฮิสตามีนทำงาน ซึ่งฮิสตามีนเป็นสารที่หลั่งเมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย โดยสารนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้และอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ อย่างการเกิดผื่นคัน ผื่นแดงตามผิวหนัง ยาต้านฮิสทามีน คือควรใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่ 2 ในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เนื่องจากได้ผลดี มีความปลอดภัย ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยพิจารณาระหว่างผลที่ได้กับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และสามารถใช้ยาต้านฮิสทามีนได้ในโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ทุกชนิดและทุกความรุนแรง
  • ยาอะดรีนาลีน (Adrenaline) ผู้ที่มีอาการคัดจมูกมากอาจจะต้องใช้ยาลดอาการคัดจมูก ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงและมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะช่วยลดอาการบวมของกล่องเสียงและหลอดลมที่เป็นเหตุทำให้หายใจติดขัด ส่วนใหญ่ใช้ในรูปแบบการฉีดตัวยาเข้าสู่ร่างกายโดยตรง
  • ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาพ่นจมูก ใช้ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก ช่วยลดอาการคัดจมูกและการหายใจติดขัด มีทั้งรูปแบบหยอดจมูกและยาเม็ดรับประทาน ยาพ่นสเตียรอยด์ลดอาการอักเสบ อาการบวมและการเกิดน้ำมูกอุดตันในโพรงจมูก ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ มีความปลอดภัยสูงในขนาดยาที่ใช้ในการรักษา ควรเลือกใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่เป็นชนิดคงที่และอาการปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการคัดจมูกมาก ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในเด็กอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังภายใต้ข้อบ่งชี้ และหยุดยา เมื่อหมดความจำเป็น
  • ยาทาสเตียรอยด์รูปแบบครีม ที่ใช้ทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการแพ้และมีผดผื่นคัน ตัวยาจะช่วยลดการอักเสบของผิวหนังและช่วยไม่ให้ผดผื่นคันขยายไปเป็นวงกว้าง
  • การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้ วิธีภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปปริมาณเล็กน้อย ทำให้ร่างกายค่อย ๆ คุ้นเคยกับสารและทำให้การแพ้สารนั้นทุเลาลงจนหายขาด โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีดเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วพบว่าแพ้ จากนั้นแพทย์จะเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดจะมีรอยผื่นแดง ผื่นคัน นานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ การคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด มีส่วนน้อยที่อาจจะแพ้ยาที่ฉีดชนิดรุนแรง แต่อาการมักเป็นชั่วคราวและหายได้หลังจากแพทย์ให้ยาแก้แพ้ วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาได้ หรือผู้ที่มีโรคภูมิแพ้หลายชนิดร่วมด้วย วิธีนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง ถ้าได้ผลดี อาจต้องฉีดต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปี

เซซามินมีส่วนช่วยคนที่เป็นโรคภูมิแพ้อย่างไร

ในเซซามิน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ ที่จะเข้ามาทำร้ายร่างกาย